วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หอคอยบาเบล (Tower of Babel)
พระธรรมปฐมกาล บทที่ 11 ข้อ 7 กล่าวว่า “มาเถิดเราจงลงไป ทำให้ภาษาของเขาวุ่นวายต่างกันไป อย่าให้เขาพูดเข้าใจกันได้” เป็นข้อพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงว่า ที่หอบาเบลเป็นจุดกำเนิดของภาษาหลายพันภาษาในโลกนี้ เนื่องจากมนุษย์ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องต่อพระเจ้าโดยการสร้างหอบาเบล พระองค์จึงทำให้พูดกันคนละภาษาเพื่อให้สื่อสารกันไม่เข้าใจทำให้สร้างหอบาเบลไม่สำเร็จ

หอบาเบล เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีจุดมุ่งหมายให้สูงไปถึงสวรรค์ เกิดจากความสามัคคีของมนุษย์ ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมโลก จากลูกหลานของโนอาห์ ได้ขยายพงศ์พันธุ์แผ่ไพศาลออกไป แต่ทั่วทั้งโลกต่างพูดภาษาเดียวกัน และมีศัพท์สำเนียงเดียวกัน ผู้คนในยุคนั้นจึงได้ร่วมกันสร้างหอบาเบล โดยมีความมุ่งหมายเพื่อที่จะสร้างเป็นหอเทียมฟ้า สร้างชื่อเสียงไว้ และเป็นแหล่งรวมอารยธรรมของมนุษย์ไว้ด้วยกัน
การสร้างหอบาเบล เป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้กัยมนุษยชาติ ซึ่งความภาคภูมิใจนี้ ก็นำมาซึ่งความหยิ่งผยอง คิดท้าทายพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงบันดาลให้เกิดภาษาที่แตกต่างกัน ทำให้มนุษย์สื่อสารกันไม่เข้าใจ การก่อสร้างหอบาเบลจึงหยุดชะงักลงเพียงนั้น

     Prof. Alfredo Trombetti และ Max Mueller ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษา พบว่า ภาษาเป็นพันๆ ในโลกนี้ สามารถสืบเสาะกลับไปสู่ภาษาดั้งเดิมภาษาเดียวได้
    
     เรื่องราวของหอบาเบล ไม่ได้ถูกบันทึกเฉพาะในพระคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้น แต่ยังมีในจารึกของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ของบาบิโลนอีกด้วย
    
     Prof. Oppert ได้อ่านภาษา คิวนิฟอร์ม (cuneiform) ซึ่งถูกจารึกโดยเนบูคัสเนซซาร์ ถึงหอคอย  บาร์ซิปปา (Barzippa) หรือ ทั้ง-ทาวเออร์ (Tongue-tower) หอคอยดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยนิมโรด ปฐมกษัตริย์แห่งบาบิโลน เนบูคัดเนซซาร์ตั้งใจจะบูรณะหอคอยนี้ขึ้นใหม่ ซึ่งถูกทำลายลง 1,600 ปีก่อนหน้านั้น
     จารึกตอนหนึ่งของเนบูคัสเนซซาร์ ที่น่าสนใจคือ “กษัตริย์พระองค์ก่อนได้สร้างมันขึ้นมา แต่ไม่สามารถสร้างยอดของมันให้สำเร็จได้ และเนื่องจากเวลาที่ยาวนาน ประชาชนได้พากันละทิ้งมันไป โดยไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ”
     ปัจจุบันกรุงบาบิโลน เป็นเมืองเก่า อยู่ทางตอนใต้ 60 ไมล์จากกรุงแบกแดด ประเทศอิรั

2 ความคิดเห็น: